วิเคราะห์วรรณกรรม
"หลายชีวิต " ในแง่มุมสะท้อนบทบาททางพระพุทธศาสนา ๓
ต่อ ...
จากที่กล่าวมาแล้วท่านจะเห็นได้ว่า แม้ว่าบทประพันธ์ “หลายชีวิต” จะไม่ได้แสดงออกถึงความมีบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
แต่เราก็สังเกตได้ว่ามูลเหตุที่ท่านคึกฤทธิ์และคณะได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องสั้นนี้
เป็นนิยาย ก็มาจากสิ่งแรกคือ “มูลเหตุกรรมใดที่นำมาเป็นเช่นนี้”
จากที่กล่าวนี้
ท่านจะเห็นได้ว่า มูลเหตุแห่งการเขียนนิยายกาจากอิทธิพลของพระศาสนา เป็นหลักใหญ่
อย่างน้อยที่สุด
กฏแห่งกรรมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่บันดาลใจให้ท่านคึกฤทธิ์และนักเขียนทุกท่านใช้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจในการเขียน
มีผู้กล่าวว่ากวีหรือนักเขียนก็เหมือนกับจิตกร นักวาดภาพ
เพราะทั้งงานเขียนและภาพวาดต้องอาศัยแรงบันดาลใจเป็นสำคัญ
หลายชีวิตจึงเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่กล่าวถึงความมีอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
น้อยจากจะมีมูลเหตุที่กล่าวไปแล้วนั้น ในเนื้อเรื่องที่เป็นเรื่องสั้น หลาย ๆ
เรื่องต่อกันนั้น บทเรื่องสั้นนั้น ๆ
ก็แสดงออกมาให้เห็นถึงความมีบทบาทและอิทธิพลของพระพุทศาสนาอยู่ไม่มากก็น้อย
แต่เรื่องที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องเลยนั้น หากได้มีในบทประพันธ์ของท่านคึกฤทธิ์ไม่ จึงกล่าวได้ว่าศาสนาก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยต่อบทวรรณกรรมชิ้นต่าง
ๆ
นอกจากรวมเรื่องสั้น
ที่นำมาร้อยเรียงเป็นนิยาย “หลายชีวิต” จะแสดงสื่อถึงความเป็นไปของบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาแล้ว
ในเนื้อเรื่องของเรื่องสั้นบางบทยังมีความคุ้นเคืองที่ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณาญเป็นส่วนประกอบ
ยกตัวอย่างเช่น “ละม่อม”
บทเรื่องสั้น “ละม่อม” เป็นบทประพันธ์ที่ท่านคึกฤทธิ์แสดงออกถึงความคิดที่แปลกไปจากเรื่องสั้นในนิยาย
“หลายชีวิต” อื่น ๆ
ที่กล่าวว่าแปลกนั้นมาจากการที่ยกบทมาตุฆาต หรือการฆ่ามารดาของละม่อม เป็นเหตุแสดงออกมา
ชีวิตของละม่อนนั้นเป็นชีวิตที่ต้องอยู่ในสภาพที่เก็บกด
และทนรับภาระที่ตนได้รับการบังคับ และการด่าทอ
มารดาที่ไม่เปิดโอกาสให้แก่ละม่อม ไม่ให้โอกาสทางการศึกษา ไม่คิดที่จะส่งเสริมเรื่องใด ๆ
ละม่อมอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วยคำว่ากตัญญู โดยยินดีที่จะกระทำทุกสิ่งเพื่อให้มารดาของตนมีความสุข
มารดาของละม่อนก็หาได้เป็นผู้ที่มีจิตใจดีเฉกเช่นบุตรของตนไม่ กลับซ้ำร้าย
เมื่อละม่อมต้องแลกความรักกับชายที่ตนใฝ่หาและต้องการที่จะอยู่ร่วมชีวิต
ละม่อมถูกมารดาของตนใช้ความว่ากตัญญูเป็นมูลเหตุที่กักขังและจองจำชีวิตของละม่อมให้โดดเดี่ยวและเดียวดายตลอดไป จดหมายสองสามฉบับที่สนิท
ชายผู้เป็นที่รักและแสงสว่างแห่งชีวิตที่มืดมน เขียนมาส่งให้กับละม่อน
เพื่อทวงสัญญาที่จะอยู่ด้วยกัน
และอีกสองฉบับต่อมาเป็นการเขียนเชิงน้อยใจของสนิทที่ละม่อมมิได้เห็นใจต่อความรักและสุดท้ายด้วยจดหมายลาเพื่อไปแต่งงานกับหญิงที่ตนรัก
มาตุฆาตเกิดขึ้นในคืนที่ละม่อมพบซองจดหมายและเนื้อความทั้งหมด มารดาของละม่อนไม่มีลมหายใจเสียแล้ว
ละม่อมใช้แรงที่มีอยู่ทั้งหมดกดหมอนใบที่มารดใช้หนุนนอน กดเข้าไปที่ใบหน้าของมารดา
และทุกสิ่งก็สิ้นไป
คำถามที่เกิดขึ้นอยู่ในใจของผู้อ่านคือละม่อม
ผิดหรือไม่
บางท่านคงกล่าวว่าผิดเป็นแน่
และบางท่านก็อาจนึกชั่งในใจว่าควรจะตอบคำถามอย่างไรดี ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร
จะเป็นความผิดที่ควรแก่การประจานหรือการว่ากล่าวอย่างรุนแรง หรือจะเป็นความคิดที่ว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลแล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัยแห่งตัวของมัน
ไม่ว่าความคิดที่กล่าวถึงละม่อม จะเป็นไปในทิศทางใด
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่อ่านและรับทราบ คือ
การเป็นผู้ตกอยู่ในอิทธิพลและความมีบทบาทของพระพุทธศาสนา
ที่กล่าวนี้
บางท่านอาจจะกล่าวเป็นไปไม่ได้ แต่กระนั้นก็ตามผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านได้พิจารณาว่า
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่กล่าวถึงความมีเมตตาธรรมเป็นสิ่งแรกใช่หรือไม่ หากใช่แล้ว
หลักมนุษยธรรม ที่เป็นหลักที่ไม่อิงกับศาสนาใด
ก็ย่อมเหมือนกับหลักธรรมความคิดนี้เป็นแน่แท้
การตกเป็นผู้อยู่ภายใต้อิทธิพลของพระพุทธศาสนาหาเป็นเพราะท่านนับถือศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียวไม่
การที่ท่านอยู่ในสังคมที่โอบอุ้มด้วยพระศาสนาก็เป็นสิ่งที่กล่าวได้แล้วว่า
ท่านเป็นผู้อยู่ภายใต้อิทธิพลแห่งสังคม โดยสังคมได้รับอิทธิพลต่อจากพุทธศาสนา
ด้านหลักธรรม ความคิดที่เกิดขึ้นในใจ
หลักจากที่ผู้อ่านได้อ่านเรื่องสั้น “ละม่อม” เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นผู้หนึ่งในสังคมของผู้อ่านท่าน นั้น ๆ
แม้ว่าท่านจะไม่ได้นับถือพุทธศาสนาก็มิอาจจะปฏิเสธได้ว่า
สังคมไทยไม่ได้อิทธิพลจากพระพุทธศาสนา
จะอย่างไรก็ตาม เรื่องสั้นนี้
ก็แสดงออกมาให้ท่านได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงไปแห่งกาลเวลาและยุคสมัย
ทั้งทัศนะความคิดและบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน
แม้ในอดีตมาตุฆาตเป็นเรื่องบาปและปัจจุบันก็เป็นไปเช่นนี้
แต่กระนั้นบทบาทพระพุทธศาสนาต่อการอธิบาย
ที่ไม่สามารถอธิบายโดยตัวของธรรมะได้อย่างเดียวไม่
จำเป็นที่จะต้องใช้หลักทางวิทยาศาสตร์และอื่น ๆ เข้าประกอบ
เราจะเห็นได้ในปัจจุบันว่า
ไม่มีพระสงฆ์รูปใดที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้กระทำมาตุฆาต โดยมีความวิกลจริต หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอดีตย่อมมีการวิพากษ์วิจารณ์
ไม่ว่าผู้กระทำจะเป็นผู้วิกลจริตหรือไม่ก็ตาม
สิ่งเหล่านี้ที่ปรากฏต่อบทประพันธ์ของท่านศึกฤทธิ์
เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความคงอยู่ของพระพุทธศาสนา
และการปรับเปลี่ยนไปของคนในแต่ละยุคสมัย
หากเนื้อเรื่องเดียวกันนี้ มีในสมัยโบราณ อาจจะเป็นถกเถียงและเห็นชอบด้วย
แต่ด้วยเนื้อเรื่องที่อิงกับยุคสมัยปัจจุบัน จึงไม่แปลกที่จะมีผู้กล่าวว่า
การกระทำของละม่อมต้องพิจารณาจากองค์ประกอบอื่น ๆ ร่วมด้วย ว่ามูลเหตุเป็นเช่นใด
และการจะกล่าวว่าละม่อมผิดบาปนั้น เราผู้เป็นปุถุชนก็อาจจะไม่สามารถกล่าวตัดสินได้
ไม่ว่าทัศนะของผู้คนจะเป็นเช่นใด สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี
และไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง ของพฤติกรรมของตัวละคร
ในบทนี้
เนื่องจากการต้องการอธิบายความเป็นไปแห่งบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
ดังนั้นการที่จะอธิบายโดยการโยงเพียงหลักธรรมกับสังคม
หรือการนำสังคมมาเปรียบเปรยเพียงอย่างเดียวก็หาเป็นการอธิบายคำตอบได้ดีไม่
ผู้เขียนจึงนำวิชาความรู้ที่ตนสนใจประกอบการเป็นผู้อ่านมามาก
มาจัดเรียงถ้อยประโยคให้ออกมาเป็นบทหนึ่งในเอกสารรายงาน
ด้วยหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้สนใจและใคร่พิจารณาสังคมและบทบาท
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในแง่มุมใหม่ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น