วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์วรรณกรรม "หลายชีวิต " ในแง่มุมสะท้อนบทบาททางพระพุทธศาสนา ๒

วิเคราะห์วรรณกรรม "หลายชีวิต " ในแง่มุมสะท้อนบทบาททางพระพุทธศาสนา ๒

ต่อ ..
                ในเอกสารประกอบคำบรรยาย กระบวนวิชา TH ๒๕๗  วรรณคดีวิจักษณ์  เป็นกระบวนวิชาหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงกระบวนวิธีในการพิจารณาสังเกต บทวรรณกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งแท้จริงแล้ว นักศึกษาที่ศึกษาในกระบวนวิชานี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากนำไปใช้ในการเรียนรู้การแปลวรรณกรรมเก่าแก่ของไทย   และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากผู้ศึกษาได้คิดวิเคราะห์และจับสังเกตได้ว่า วรรณกรรที่เป็นของไทย ในอดีตทั้งหมดมีบทบาทพระพุทธศาสนาแทรกซึมอยู่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และงานวรรณกรรมของไทย ที่แต่งขึ้นจากกวีหรือนักเขียนคนไทย ในปัจจุบัน ก็มักจะมีบทบาทของพระพุทธศาสนาอยู่ทั้งที่แสดงออกมาทางตรงและโดยอ้อม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทวรรณกรรมนั้น ๆ  จึงเกิดคำถามค้างคาใจขึ้นมาว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า  แม้ปัญหาทางสังคมจะมีมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงไปของจิตใจมนุษย์ที่พึ่งพาความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี และอำนาจแห่งไสยศาสตร์ ทำให้จิตใจตกต่ำ และขุ่นมั่ว แต่กระนั้นก็ตามอย่างที่กล่าวไว้ในบทที่ผ่านมาว่า แม้สังคมจะมีปัญหาแต่ก็ใช่ว่าบทบาทของพระพุทธศาสนาจะแปรเปลี่ยนไป โดยสิ้นเชิงไม่ อย่างน้อย การที่พระพุทธศาสนาได้ปรับตนให้เข้ากับสังคมได้ แม้จะเป็นไปในทางที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสสรรเสริญ แต่ก็นับว่า เป็นความสำเร็จหนึ่งซึ่งทำให้สังคมไทยยังไม่คลายความเชื่อและวิถีทางแห่งบาทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนา

                เช่นนั้น เป็นไปได้ไหมว่า สังคมไทยยังมีสิ่งที่ช่วยประครองให้บทบาทของพระพุทธศาสนาไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก มาจากวรรณกรรมที่คงอยู่ของบทบาทและความสำคัญของพระพุทธศาสนา  จากการศึกษาเนื้อเรื่องวรรณกรรมเก่าแก่ของไทย หลากหลายเรื่อง ท่านจะพบบทกวี ที่ผู้ที่ไม่คุนชินกับการอ่านวรรณกรรมประเภทร้อยกรอง จะต้องแปลกใจ  บทความนี้จะกล่าวไปตามเนื้อหาของบทละครแล้วจู่ ๆ ก็จะเกิดปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฝนตก โดยไม่มีบทรองรับ หรือกำลังกล่าวถึงชายหญิงคู่หนึ่งอยู่ดี ๆ ก็บังเกิดบทกล่าวเอ่ยถึงแมลงภู่กับดอกไม้ หรือไม่ก็กล่าวถึงการเล่นว่าวปักเป้ากับว่าวกุลา  ไม่เช่นนั้นก็เกิดบทร้อยกรองที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อความก่อนหน้านี้ อย่างทันทีทันใด เป็นบทรามสูร กับนางเมขลา ล่อแก้วเป็นต้น  สิ่งเหล่านี้คืออะไร และเกี่ยวข้องกันอย่างไร

                บทที่สืบเนื่องต่อจากบทรักชายหญิง ที่กวีใช้คำร้อยกรองมาเรียงต่อความโดยไม่มีเนื้อความที่เนื่องเกี่ยวกันนั้น แท้จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ หากแต่สิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีความเกี่ยวเนื่อง ข้องสัมพันธ์กันโดยหลักแล้วแท้จริง เพราะบทที่กล่าวถึงนั้น คือบทอัจศจรรย์ หรือบทเข้าพระเข้านาง หรือบทความสัมพันธ์ทางเพศ


                เราจะมองเห็นได้ว่า การแสดงออกของกวีในบทประพันธ์นั้น ๆ เป็นการแสงออกที่สืบเนื่องมาจากความคิดความเชื่อทางศาสนาเป็นสำคัญ เพราะเรามิอาจจะปฏิเสธได้ว่า ศาสนามีผลต่อความคิดและการกระทำของผู้คนในสังคม สังคมได้รับการหล่อหลอมจากธรรมที่มาจากศาสนาเป็นสำคัญ   ดังนั้นบทอัศจรรย์ที่ยกกล่าวมานี้ จึงเป็นผลที่แสดงออกมาให้เราเห็นได้ชัดเจนว่า บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญต่อสังคมและวรรณกรรม อยู่ไม่มากก็น้อย

                สังคมยังต้องการรับความบันเทิงใจและการหย่อนใจจาก บทวรรณกรรม  ละคร เรื่องเล่า อยู่ ดังนั้นกวี หรือนักประพันธ์จึงยังมีความสำคัญต่อความเป็นไปแห่งสังคม และยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วาทะทางธรรมะและคติความเชื่อความคิด และบทบาทของพระพุทธศาสนายังคงมีบทบาทอยู่ในทุกการณ์เวลา  ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยสรรสร้างกวีขึ้นมามากมาย มีทั้งที่เป็นหน้าใหม่ และที่เก่าแก่ ถึงพริกถึงข่า ก็มีมาก   กวีเหล่านั้นมีส่วนสำคัญจริงหรือที่ทำให้บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาของสังคมไทยยังคงมีอยู่    และกวีเหล่านี้ใช้อะไรเป็นหลักในการถ่ายทอดและแสดงให้เห็นว่าบทบาทเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่องานเขียนอยู่จริง



                หลายชีวิต บทประพันธ์ของหม่อมราชวัง คึกฤทธิ์ ปราโมช  คงเป็นคำตอบที่ดีสำหรับการตอบคำถามที่คาใจอยู่นี้ มากทีเดียว จากบทย่อหลังปกของนิยายเล่มนี้  กล่าวว่า

                                “           หลายชีวิต......

                                                หลายชีวิตที่แตกต่างกัน

                                                คนละวัย

                                                คนละเพศ

                                                คนละอาชีพ

                                                แต่มาจมลงพร้อมกัน

                                                ณ สถานที่เดียวกัน

                                                และเวลาเดียวกัน                



มูลเหตุแห่งคำถาม ที่ถามว่า หลายชีวิตนี้เหตุใดจึงมีจุดจบที่เหมือนกัน ทั้งที่ มีความเป็นมาแห่งชีวิตที่ต่างกัน มีแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน คำถามนี้ ท่าน คึกฤทธิ์ ได้ประสบกับตนเองมาก่อน ก่อนที่จะเริ่มต้นเขียนนิยายที่เป็นเรื่องสั้นหลาย ๆ เรื่องแต่งรวมกัน ขึ้น และให้ชื่อเรื่องว่า หลายชีวิต”     จากคำนำจากผู้เขียนคือท่าน ศึกฤทธิ์ กล่าวไว้ได้ใจความสำคัญว่า สาเหตุที่ท่านเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา มูลเหตุนั้น มาจากที่ท่านได้นั่งรถยนต์ไปเที่ยวกับคณะนักเขียน ไปยังศรีราชา ระหว่างที่กำลังเดินทางนั้นท่านและคณะก็ได้ประสบเห็นรถตกสะพาน มองเห็นซากรถ ในคณะร่วทั้งท่าน ศึกฤทธิ์ ก็ได้วิจารณ์กันว่าคงมีผู้คนล้มหายตายจากในกรณีเป็นมากทีเดียวแน่  ก็มีตอนหนึ่งคนหนึ่งพูดขึ้นมาแบบคนโบราณว่า ทำบุญทำกรรมอะไรกันมาหนอ  ต่างคนก็ต่างชีวิต มาจากไหนกันก็ไม่รู้ แต่ทำไมถึงมาตายพร้อมกัน”  จากมูลเหตุแห่งคำถามนั้น ก็กลายมาเป็นประเด็นที่ท่านศึกฤทธิ์และคณะเห็นว่า ทำไมไม่แต่งขึ้นเป็นบทประพันธ์ โดยเขียนเป็นเรื่องสั้น หลาย ๆ เรื่องรวมกัน โดยหลาย ๆ ท่านแต่งร่วมกัน  แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อท่านคึกฤทธิ์ได้แต่งโดยเริ่มเรื่อง ไอ้ลอยไปตีพิมพ์ก่อน ก็ปรากฏว่าจากที่รับปากกันไว้ว่าจะร่วมกันแต่งเรื่องสั้นนี้ ก็ไม่เป็นไปตามที่กล่าวไว้ ท่านคึกฤทธิ์จึงต้องรับงานเขียนนี้เองแต่ท่านเพียงผู้เดียว


อ่านต่อ ๓ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น