วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์วรรณกรรม "หลายชีวิต " ในแง่มุมสะท้อนบทบาททางพระพุทธศาสนา ๑



วิเคราะห์วรรณกรรม "หลายชีวิต " ในแง่มุมสะท้อนบทบาททางพระพุทธศาสนา ๑

การวิเคราะห์วรรณกรรมไทย
ในบทนี้ครูจะนำบทงานเขียนที่ปรากฏอยู่ในรายงานกระบวนวิชา บทบาทพระพุทธศาสนากับสังคมไทย ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาให้เป็นแนวนทางสำหรับทุก ๆ ท่านได้นำเป็นแนวทางในการวิเคราะห์วรรณกรรม ถึงแม้วว่าจะไม่ละเอียดมากนักและไม่ตรงตามหลักการวิเคราะห์เสมอไป ครูก็อยากให้ผู้อ่านได้ความรู้จากเนื้อหานี้บ้างไม่มากก็น้อยครับ


บทที่ ๘

การเข้ามามีบทบาทและอิทธิต่อความคิดของกวี ในวรรณกรรม ของพระพุทธศาสนา

เขียนโดย สุรเดช  ภาพันธ์



                สังคม มีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นส่วนสำคัญ ความคิด การกระทำ การแสดงออก และทัศนะความคิดเห็นเป็นสิ่งที่มนุษย์กระทำ โดยเลียนแบบซึ่งกันและกันทั้งความดีและความเลว   กวีเป็นอีกผู้หนึ่งในสังคมที่สรรสร้างบทความทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ออกมาเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิดของสังคม และความเป็นไปแห่งจิตนาการ

                เมื่อมนุษย์มีชีวิต สิ่งที่ใหญ่หลวงเหลือเกินของมนุษย์ในห้วงหนึ่ง ที่ย่อมปรารถนาให้ประสบพบเจอ นั้นก็คือ ความรัก ไม่ว่าความรักนั้นจะเป็นสิ่งใด ๆ เป็นความจริงอันประเสริฐ หรือความทุกข์เลวร้ายอันระทม มนุษย์ต่างแสวงหา หรือแม้กระทั่งฉุดคร่านเอามาเพื่อเป็นเจ้าของ เป็นผู้ปกครองของมัน

                บทกวีส่วนใหญ่จึงใช้อารมณ์แห่งปรารถนานี้เป็นส่วนหลักในการสร้างผลงานวรรณกรรม แต่ในสภาพสังคมไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ  จึงไม่น่าจะต้องสงสัยที่บทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทและความสำคัญ ต่องานวรรณกรรมไม่ว่าจะเป็นสมัยใด จากอดีตจนถึงปัจจุบัน



                ในบทนี้ผู้เขียนและคณะได้ช่วยกันออกค้นหาข้อมูล และงานวรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาสรุปว่า   ณ ปัจจุบัน บทบาทของพระพุทธศาสนายังคงมีความสำคัญต่อผลงานทางด้านวรรณกรรมหรือไม่ และเป็นไปในลักษณะอย่างไร

                สำหรับผู้เขียนเอง เป็นผู้ที่สนใจและศึกษาอยู่ในวงการภาษาไทยมาบ้างพอสมควร ประกอบกับได้เข้าศึกษาในกระบวนวิชาโท เป็นด้านภาษาไทยโดยตรง จึงมีความรู้ในด้านการแต่งบทประพันธ์และการวิจักษ์วรรณคดี หรือการวิเคราะห์วิจัย และตีความจากงานเขียน หรือผลงานวรรณกรรม  ความหมายโดยรวมของคำว่า วรรณกรรม ก็คือผลงานเขียนที่แต่งถ่ายทอดออกมาจากจิตนาการหรืออาจจะเป็นเรื่องราวที่เป็นกึ่งความจริงหรือเป็นความจริงเลยก็ได้  ทั้งนี้จากการให้ความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมายว่า งานหนังสือ หรืองานนิพนธ์ ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด เช่นหนังสือ  จุลสาร เป็นต้น

                สำหรับงานวรรณกรรมเองในปัจจุบัน มีความหมายที่ปลีย่อยมากเกินว่าจะรียนว่าวรรณกรรมคือ   นวนิยาย หรือนิยาย แต่เพียงอย่างดียว  ทั้งนี้หากจะแยกเอาความหมายโดยแท้จริงของวรรณกรรม ก็จะต้องแยกเป็นสองหัวข้อหลักใหญ่ ๆ คือ

-วรรณกรรมที่เป็นประเภท ร้อยกรอง เช่นเสภาขุนช้างขุนแผน อิเหนา  พระอภัยมณี เป็นต้น

-วรรณกรรมที่เป็นประเภท ร้อยแก้ว เช่น นวนิยาย สารคดี  งานเขียนอื่น ๆ โดยทั่วไป โดยการแต่งไม่คำนึงถึงการเขียนให้มีสัมผัสคล้องจองแต่อย่างใด

                สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาเรื่องบทบาทและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวรรณกรรม นี้ เห็นได้จะมาจากการที่ได้อ่านนวนิยาย นิยาย บทกวี งานวรรณกรรม ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่หากมิใช่ผลงานวรรณกรรมแปลแล้ว ผลงานวรรณกรรมนั้น ๆ มักจะมีส่วนที่แสดงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผู้อ่านจะทราบได้เองโดยการรับสารจากการอ่าน   จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า หากเราจะกล่าวว่า ณ ปัจจุบัน บทบาทของพระพุทธศาสนา ในสังคมไทยมีน้อยมากแล้ว เหตุใด งานวรรณกรรมซึ่งเป็นผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ ซึ่งอยู่ร่วมกันในสังคมจึงยังคงมีบทบาทนี้อยู่และเหตุใด วรรณกรรมโดยส่วนมากจึงคงไว้ซึ่งบทบาทนี้ ในเมื่อกวีที่แต่งวรรณกรรมก็เป็นผลพลอยจากการสรรสร้างของสังคมเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น