มาพิจารณามูลเหตุปัญหาการใช้ภาษาไทยจากแนวข้อสอบ
๒.
นักศึกษาคิดว่าปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยคืออะไร จงแสดงความคิดเห็นพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ
ภาษาไทย
ผิดวรรณะ
การใช้ภาษาไทยผิดวรรณะนั้นก็คือการใช้ภาษาคำพูดโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลที่กล่าวถึง
เช่นเรียกบุคคลสูงอายุกว่า ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง บิดามารดา ครูอาจารย์
โดยใช้คำสรรพนามว่า “แก” บ้าง “เขา” บ้าง
จากที่พบโดยส่วนตัวบางคนคิดว่าการพูดผิดวรรณะเป็นการพูดเพื่อให้สนิกใจหรือให้ดูใกล้ชิด
จึงเกิดปรากฏการณ์การใช้คำ “แก” กับผู้ใหญ่จนแพร่หลาย
นักเรียนบางคนไม่คิดจะพูดแต่ด้วยความเคยชิดและคะนองปากจึงกล่าวพูดตามเพื่อน
อีกคำหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการใช้คำผิดวรรณะเช่นกัน
โดยส่วนนี้เป็นการใช้ในหมู่สื่อมวลชนโดยเฉพาะกลุ่มข่าวดารา ที่เริ่มมีการนำสรรพนาม
“ชี” “ฮี”
(She,He) ซึ่งเป็นคำสรรพนามภาษาอังกฤษมาใช้เรียนแทนผู้คนตามเพศ
ดังที่ทราบกันดีอยู่ว่าสื่อมวลชนโดยเฉพาะกลุ่มข่าวดาราเป็นกลุ่มที่นักเรียนในช่วงชั้นมัธยมฯ
มีความสนใจกันอยู่แล้วจึงไม่เป็นที่แปลกใจที่ภาษาดังกล่าวจะเข้ามามีอิทธิพลต่อคำพูดและภาษาไทยในกลุ่มนักเรียนมัธยมฯ
ปัญหาการใช้ภาษาไทยมิใช่ว่าเกิดในยุคสมัยนี้แต่เพียงอย่างเดียว
หากแต่ปัญหาที่เกิดนี้เป็นมาตั้งแต่ในอดีตตลอดมา
นอกจากจะมีปัญหาที่ใช้ภาษาผิดวรรณะแล้ว
นักเรียนในระดับมัธยมศึกษายังมีปัญหาที่ใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันนั้นคือ การพูด
การเขียน การอ่าน ภาษาไทย โดยไม่แสดงความแตกต่างระหว่างอักษรควบกล้ำ และอักษรปกติ โดยเฉพาะปัญหาการอ่านออกเสียง ร เรือ และ ล ลิง
ซึ่งในปัจจุบันแทบที่จะแยกแยะว่าคำใดอ่านออกเสียงอย่างไร
นักเรียนมัธยมศึกษาแม้จะทราบถึงข้อบกพร่องนี้ แต่มักไม่แก้ไขข้อบกพร่อง
มักปล่อยตามเพราะเห็นเป็นแฟชั่น
การอ่านและการพูดอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างแต่ด้วยกระบวนความที่สื่อสารออกมาทำให้เราผู้ศึกษาภาษาไทยมาบ้างทราบได้เองว่าคำที่กล่าวถึงเป็นคำควบกล้ำหรือแท้จริงแล้วอ่านออกเสียงอย่างไร
แต่จะมีปัญหาด้านการเขียนด้วยความที่นักเรียนชั้นมัธยมฯ
หรืออาจกล่าวว่าเป็นทั้งประชาชนคนไทยทั้งหมดที่ไม่เห็นความสำคัญของการพูด อ่าน
ออกเสียงให้ถูกต้องทำให้ส่งผลต่อเนื่องตามมานั้นก็คือการเขียนคำผิดเพราะอนุมานเอาเองว่าเขียนตามเสียงที่พูด
เช่นที่กระผมประสบมาเองคือ เขียนคำว่าข้าวต้มเครื่องใน เป็นข้าวต้มเคื่องใน
หากจะกล่าวว่าปัญหาการใช้ภาษาไทยนี้เป็นปัญหาที่ไม่หนักหนานักสิ่งที่จะตามาก็คืออีกไม่นานภาษาไทยจะสูญเสียคำในภาษาไปอีกมาด้วยการที่ไม่ออกเสียงพูดและอ่านให้ถูกต้อง
ปัญหาต่อไปที่นักเรียนชั้นมัธยมฯมักใช้กันผิดหรือมีปัญหากันบ่อยคือการใช้อักษรแทนเสียงด้วยตัวเดียวกัน
เช่น เขียนคำว่าเธอ เป็น เทอ
เป็นต้นและเขียนภาษาไทยให้กลายเสียงหรือกลายหลักการเขียน เช่น เขียน ใจ เป็น จัย , เขียน กัน เป็น
กัลล , เขียน ใคร เป็น คัย
แม้ว่าการเขียนภาษานี้จะเกิดเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ท
และเป็นภาษาที่มาง่ายไปง่ายเพราะเป็นภาษาวัยรุ่น
แต่ก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง
หากภาษาเขียนเหล่านั้นเกิดขึ้นเฉพาะในเครือข่ายออนไลน์คงจะไม่มีปัญหามากนักแต่หากมันไปปรากฏการใช้ในการตอบคำถามบนข้อสอบ
ปรากฏการใช้ในโรงเรียนและปรากฏการใช้ในกลุ่มบุคคลที่เป็นบุคคลสาธารณะเช่นกลุ่มดารา
และวงการเพลง ภาษาเหล่านั้นจะเพิ่มทวีอธิพลปัญหาในด้านภาษามากขึ้น
แม้ว่าการกลายของภาษาจะเป็นเครื่องยืนยันความคงอยู่ของภาษา
ภาษาไทยยังเป็นภาษาที่ผู้คนใช้อยู่และยังไม่ตาย
แต่หากเราไม่สามารถกระตุ้นเตือนกลุ่มบุคคลโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาให้เห็นความสำคัญได้
ภาษาไทยจะมีแนวโน้มเสื่อมถอยลงอย่างมาก
นักเรียนบางคนกล่าวว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากต่อความเข้าใจ
พ่อแม่ผู้ปกครองบางท่านไม่เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
เพราะมองว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและเป็นภาษาแม่
แม้ไม่มีการเรียนการสอนก็อาจจะสามารถพูดได้
และปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันโดยไม่เอยกล่าวเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยม ฯ
กล่าวโดยรอบเราจะเห็นว่าที่ปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันไม่สามรรถแก้ไขได้ดี
ถูกต้องและตรงจุด สาเหตุสำคัญไม่ใช่การที่นักเรียนหรือประชาชนใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
เขียน อ่าน พูด ผิด ไม่
แต่เป็นเพราะคนไทยมีความคิดเห็นว่าภาษาไทยไม่มีความสำคัญต่อการรับรู้
บ้างท่านมีทัศนะว่าผู้เก่งภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ
เท่านั้นจึงเป็นคนเก่งหรือบางท่านเห็นว่าต้องส่งเสริมให้เด็กไทยได้ไปแข่งขัน
เชาว์คณิต วิทยาศาสตร์
โอลิมปิกเท่านั้นจึงเป็นคนเก่ง ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาบางท่าน
แสดงความยินดีเฉพาะนักเรียนที่เก่งด้านวิชาการ
และภาษาต่างประเทศแต่หากมีนักเรียนคนใดเก่งภาษาไทย ก็มักไม่มีการชมเชยเท่าที่ควร
หากจะกล่าวว่านี่คือปัญหาที่ทำให้นักเรียนไทยและคนไทยไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทยใช่หรือไม่
อาจจะกล่าวว่าใช่ เพียงแต่ผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาในด้านภาษาไทยทั้งในระดับโรงเรียน
และระดับประเทศมาจากทัศนะของบุคคลนั้น ๆ เอง
ดังนั้นหากจะกล่าวถึงปัญหาและโทษปัญหาแก่บุคคลใด ย่อมไม่สามารถกล่าวได้ชัดเจน
แม้ว่าในตอนท้ายนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับการที่เกิดปัญหาการใช้ภาษาไทยในระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาก็ตาม
แต่ที่ต้องกล่าวถึงด้วยที่ปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นมักจะมีอธิพล มูลปัญหาต่าง
ๆ ประกอบกันขึ้นมาด้วย เราจึงไม่อาจกล่าวโทษหรือมองนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาว่าเป็นผู้ผิด
แต่ควรกล่าวว่าการที่นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษามีแนวโน้มการใช้ภาษาที่ผิดมากขึ้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น
ๆ ภายนอกที่มีอธิพลหลักและรองเป็นเหตุอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น