ประสบการณ์ในการสอนภาษาไทย
ครูเดช
มีประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาไทย และแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทย
มีผู้ปกครองและนักเรียนที่สนใจรับการเรียนการสอน และมีผลการพัฒนาด้านการใช้ภาษาไทย
ได้ดีขึ้น เป็นที่น่าพอใจ แล้วหลายท่าน ด้วยการเรียนการสอนของคุณครูเดช
ที่ไม่สอนแต่เพียงในตำราเพียงอย่างเดียว การสอนที่สนุก เป็นกันเอง
มีการทำความเข้าใจต่อปัญหาแต่ละกรณีของนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยต่าง ๆ กัน ครูเดช
เน้นการทำความเข้าใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทยก็จริง
แต่จะมีสักกี่สิบคนที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และเชี่ยวชาญ การที่เราไม่สามารถพูดหรือใช้ภาษาอังกฤษได้ดี นับว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าอายสำหรับคนไทย
แต่การอ่าน เขียน พูด และใช้ภาษาไทย ได้ไม่ดี
และไม่ชัดเจนนั้นถือว่าเป็นปัญหาและน่าอายมากกว่า การเชี่ยวชาญในภาษาไทย
และใช้ภาษาไทยได้ดีจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ครูเดช ห่วงใยที่สุด
ภาษาไทย
มูลเหตุปัญหาที่เยาวชนไทยกำลังเผชิญ
ลูกศิกษ์ทราบหรือไม่ครับ
ว่าปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับการใช้ภาษาไทยที่ผิดเพี้ยนไป
จากประสบการณ์ที่คุณครู ได้สอนนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๒ –ประถมศึกษา
เห็นวานักเรียนไทยในปัจจุบัน มีปัญหาในการใช้ภาษาไทยเป็นอย่างมากครับ
ไม่ว่าจะไม่สามารถประสมเสียงสระ ได้ จำสระไม่ได้ อ่านประสมเสียงพยัญชนะกับสระไม่ได้
ตลอดจนไม่สามารถเขียนคำยาก ๆ ได้ หรือเขียนคำเป็นกระบวนประโยคไม่ได้
หรือเขียนได้ไม่ถูกต้อง มูลเหตุปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากสิ่งใด ?
ชาติไทยเป็นเพียงชาติเดียวเท่านั้นทีรอดพ้นจากการตกเป็นเมื่องขึ้นของต่างชาติได้
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของไทย ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองจนไทยเป็นไทในปัจจุบัน
ในอดีตคนไทยบางท่านอาจน้อยใจที่เรียนภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างชาติไม่ได้เลย
เพราะเราไม่ได้ใช้ในชีวติประจำวัน แต่ในปัจจุบันด้วยความทันสมัยแห่งเทคโนโลยี
และระบบการศึกษาไทยที่ก้าวหน้าไปมาก
ทำให้การเรียนภาษาต่างประเทศเป็นไปได้ง่ายและนักเรียน
เยาวชนไทยมีโอกาสได้ใช้ภาษาต่างประเทศได้มากขึ้น แต่กระนั้น
ความพัฒนาที่รวดเร็วจนเกินไป ส่งผลเสียอย่างมากต่อสังคมไทย และภาษาไทย
นักเรียนไทยเป็นจำนวนมากยังสับสนในการใช้ภาษาไทย ไม่ทราบว่า ฎ (ดอ ชฎา) และ
ฏ (ตอ ปฏัก) ต่างกันอย่างไร
จากกรณีที่ได้สอนนักเรียน นักเรียนบางคน อ่าน ฎ ชฎา ว่า ชอ ชฎา
และยังมีปัญหาในการเขียนอีกมาก ไม่ว่า
จะเป็นการจำสับสนระหว่างการเขียนพยัญชนะหัวเข้าด้านในหรือหัวออกด้านนอก ตลอดจนการเขียนเลขไทยไม่เป็น อ่านเลขไทยไม่ออก
เขียนเลขไทยไม่ถูก
ปัญหาที่สำคัญของเยาวชนไทยต่อการใช้ภาษาไทยนั้นก็คือการใช้ภาษาต่างประเทศทับศัพท์ในภาษาไทย
เช่นกรณีนักเรียนอนุบาล ๒ พูดว่า “ คุณครูได้หนึ่งพอยท์” ซึ่งเป็นการพูดทับศัพท์คำว่าคะแนน เป็นต้น
ใครว่าภาษาไทย
คนไทยไม่มีปัญหา อยากจะเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบว่า
คนไทยนี้แหละที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปมากที่สุด
บางท่านที่เคยศึกษาด้านภาษาศาสตร์มาบ้าง อาจกล่าวว่า อันเนื่องด้วย
ภาษาไทยเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลยังไม่ตาย เช่นภาษาบาลี ภาษาไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
ตราบใดที่ภาษายังมีชีวิต จริงอยู่ในประเด็นนี้ คุณครูไม่ขอแย้ง
แต่การใช้ภาษาที่ไม่ถนอม แม้เป็นสิ่งของสักวันคงมีวันเสื่อม และชำรุดไปในที่สุด
กระผมเห็นว่า การที่มีข้อความแสลง คำพูดแปลก ๆ ของเด็กวัยรุ่น หรือ อื่น ๆ
คุณครูรู้สึกดีใจที่ภาษาไทยยังไม่ตาย แต่ประกอบไปด้วยความรู้สึกว่า นับวันภาษาที่ใช้ยิ่งเสื่อมถอย มีอยู่สิ่งหนึ่งที่กระผมไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย
คือการที่ ฝรั่งพูดไทยได้ชัดเจน และถูกต้อง
หรือเราจะรอวันที่ให้ชาวต่างชาติต่างภาษามาสอนภาษาไทยเราหรือ ?
เหตุใดในที่นี้คุณครูจึงกล่าวเรียก ภาษาอังกฤษ ว่าเป็นภาษาต่างประเทศ
ทั้งที่ความเข้าใจของท่านบางท่านเห็นว่าควรใช้ว่า เป็นภาษาที่สอง ต้องเรียนอธิบายว่า ด้วยคำว่าภาษาที่สอง
นั้นหมายถึง ภาษาราชการ เช่นในสิงคโปร์ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
แต่พื้นเพคนในประเทศเป็นคนจีน ดังนั้นจะมีการใช้ภาษาจีน เรียกว่าเป็นภาษาที่ ๑
และภาษาอังกฤษ เรียกว่าเปนภาษาที่ ๒ เพราะเป็นภาษาบังคับให้เรียนให้พูด
เวลาติดต่อราชการ ส่วนในประเทศไทย
เราใช้ภาษาไทยกรุงเทพ ฯ เป็นภาษาราชการ ดังนั้น
เราจึงไม่เรียกว่าภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆเป็นภาษาที่สองในประเทศไทย
เมื่อพูดถึงภาษาอังกฤษ
ก็นึกขึ้มาได้ว่า คนไทยส่วนมามีปัญหาเวลาพูดถึงภาษาอังกฤษ ด้วยที่คนไทยมักพูดว่า “ภาษาอังกิด” โดยที่แท้จริง แล้ว จะต้องออกเสียง ร
เรือ จากกฏทางภาษาศาสตร์ที่ว่า หาก ฤ ร รึ เป็นพยัญชนะ นำหน้าอักษรอื่น ให้อ่านว่า
รึ แต่หากเป็นสระ เช่นในคำว่า “อังกฤษ” ให้อ่านว่าตัวริ เท่ากับอ่านคำนี้ว่า อังกริด อ่านควบกล้ำ ร
เรือ กับ ก กอไก่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น