วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา


ลักษณะของนวัตกรรม

            ด้านการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกันกับด้านอื่น ๆ ที่ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการที่เริ่มจากสภาพการเรียนการสอนเริ่มจากครูเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นที่ตัวครูและการสอนของครูเป็นหลัก  ต่อมาจึงขยายขอบเขตไปถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย การให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเริ่มคำนึงถึงการเรียนรู้และการสอนของครูควบคู่กันไป จึงทำให้เกิดคำว่า การเรียนการสอน (Instruction)  ขึ้น เมื่อแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับ นวัตกรรมต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นตามมาจำนวนมาก เพื่อช่วยให้แนวคิดนั้นสามรถนำไปปฏิบัติจริงได้ นวัตกรรมที่นำมาเผยแพร่ในขณะนั้น บางนวัตกรรมไดรับการยอมรับอย่างรวดเร็ว บางนวัตกรรมใช้เวลานานหลายปีกว่าจะได้รับการยอมรับ และบางนวัตกรรมก็ไม่ได้รับการยอมรับเลยก็มี  นอกจากนั้นมีบางนวัตกรรมได้รับการนำไปใช้ในวงจำกัด แต่บางนวัตกรรมได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง  การยอมรับของนวัตกรรมว่าจะมีการยอมรับอย่างกว้างขวางหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับคุณสมบัติหรือลักษณะของนวัตกรรมนั้น รวมทั้งรูปแบบหรือลักษณะของการเผยแพร่นวัตกรรมนั้น

การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
      การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั้น มีกระบวนการหลัก ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
๑.     การระบุปัญหา ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่การมองเห็นปัญหาในเรื่องนั้น และมีความต้องการจะแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้เกิดสภาพการณ์หรือผลที่ดีขึ้น

๒.   การกำหนดจุดมุงหมาย  เมื่อระบุปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการกำหนดจุดมุงหมายในการพัฒนานวัตกรรมว่า นวัตกรรมที่จะพัฒนานั้นควรมีคุณสมบัติหรือประสิทธิภาพอย่างไร และเพียงใด

๓.    การศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ    ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา  ผู้พัฒนาจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ในบริบทที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถใช้ได้จริง โดยสะดวกในบริบทนั้น

๔.    การประดิษฐ์คิดวัตกรรม  ได้แก่  การแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น   นวัตกรรมที่สร้างขึ้นอาจเป็นการนำเอาของเก่ามาดันแปลงหรือปรับปรุง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจเป็นการคิดขึ้นใหม่ทั้งหมดก็ได้   นวัตกรรมอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของปัญหาและวัตถุประสงค์ ของนวัตกรรมนั้น  เช่น อาจมีลักษณะเป็นแนวความคิด หลักการ แนวทาง  ระบบ  รูปแบบ  วิธีการ กระบวนการเทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น  แต่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด นวัตกรรมจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ  วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และรายละเอียดในการใช้นวัตกรรมนั้นให้ได้ผล

๕.    การทดลองใช้   เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมได้แล้ว ขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นมากก็คือ การทดลองใช้  การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข  การทดลองใช้เป็นการศึกษาเพื่อดูว่านวัตกรรมนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง และได้ผลเพียงใด ผลการทดลองใช้เจะช่วยทำให้ผู้พัฒนารู้จุดที่ควรปรับปรุงและหาทางแก้ไขเพื่อให้ผลตามที่ต้องการ

๖.     การเผยแพร่ เมื่อแน่ใจแล้วว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่ต้องการ  นวัตกรรมนั้นก็พร้อมที่จะได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น