ฉาก ใช้ฉากที่เป็นสถานที่จริงไม่ได้สมมุติ การดำเนินเรื่องสอดคล้องกับฉาก
มีความสัมพันธ์เนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
มีการบรรยายเป็นช่วง ๆ
-ช่วงแรกได้บรรยายความลำบากของเด็กเพชร จากความตอนหนึ่งที่กล่าว่า “ เด็กเพชรได้อาศัยน้ำเกลื้อท้องไปวันหนึ่ง ๆ โดยอดทน”
เป็นต้น
ศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร
-
การใช้ถ้อยคำ ส่วนมากเป็นคำง่าย ๆ
แต่ก็มีบางคำที่เป็นคำศัพท์เฉพาะทางพระพุทธศาสนา ผู้แต่งได้เรียบเรียงการใช้ถ้อยคำ
โดยใช้ภาษาและสำนวนบางคำที่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมใช้
เพื่อให้นักเรียนได้ลองใช้ความเปรียบเทียบ สำนวนโบราณ เพื่อความเข้าใจในเนื้อเรื่อง
เช่น คำในประโยค “ พี่สาวคว้าฟืนไล่ตี เลยวิ่งหนีเอาตัวรอด โดยใจเพชรพ้น” เป็นต้น
-
การใช้โวหาร
ผู้แต่งใช้วิธีการเขียนแบบบรรยายโวหาร
โดยเรียบเรียงชีวประวัติบุคคลสำคัญของไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้อย่างละอียด
ลึกซึ้ง ใช้คำง่าย ๆ บรรยาย
-
การใช้บทบาทเปรียบเทียบ บทเปรียบเทียบเกินจริง
คือเปรียบเทียบปากของสมเด็จแตงโมแหลมเหมือนปากครุฑ มีการใช้สำนวนไทย สุภาษิตคำพังเพย เช่น คำว่า “ระเหระหน” “สำมะเลเทเมา” มีการใช้สำนวนเปรียบเทียบ
เช่นเสียงสาธุพนมมือแลเป็นฝังถั่วไปทั่วทั้งโรงธรรม
ข้อคิดจากเรื่อง
๑.
เป็นคนต้องรู้จักอดทน
ดังตอนหนึงที่เด็กเพชรคว้าเปลือกแตงงโมดำไปกินใต้น้ำ แล้วเมื่อเพื่อน ๆ
ว่าก็กาได้แสดงความเก้อเขินใด ๆ คงแสดงความแจ่มใส พูดจาเล่นหัวกันตามเคย ...
๒.
ต้องมั่นใฝ่หาความรู้ มีความสนใจ
เช่นในคราที่พระสมภารเรียกให้เด็กแตงโม มาอ่านเขียนหนังสือ ก็ปฏิบติตาม
ด้วยความรักในการเรียนจนสามารถอ่านปฐม ก กา และพระมาลัยได้
๓.
แม้จะได้ดิบได้ดีแล้ว ก็ไม่ควรลืมถิ่นฐานของตน
สังเกตได้จากตอนลากลับมาบูรณะบ้านเกิดของตน
๔.
คนที่เคยยากจนมาก่อน
มิได้เป็นอุปสรรคในดารเจริญก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จในอนาคต
๕.
การรู้จักตอบแทนบุญคุณของบ้านเกิดเมืองนอน
และต่อผู้มีพระคุณเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
ทัศนะของผู้เขียน
ผู้เขียนได้เขียนชีวประวัติของสมเด็จแตงโม เพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านได้ทราบและได้เอาอย่างสมเด็จแตงโมที่ขยันหมั่นเพียร
ศึกษาหาความรู้ เพื่อประสบผลสำเร็จในอนาคต
ความรู้ หรือคุณค่าของเรื่อง
-ด้านภาษา ผู้แต่งได้เลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย เรียบเรียงเหตุการณ์อย่างเป็นลำดับ
มีการใช้ภาษาโบราณ
- ด้านค่านิยม
เกี่ยวเนื่องกับคติโบราณ ที่เชื่อถือเรื่องความฝัน
และคติที่เกี่ยวข้องกับอายังน้อยมักไม่ได้รับความเคารพนับถือ และยังมีคุณค่าในการสะท้อนภาพของคนในสมัยโบราณที่ชื่นชอบการเข้าวัด
-คติธรรม และจริยธรรม
สอนให้รู้จักขวนขวายหาความรู้เข้าตัว จะพบกับความเจริญรุ่งเรือง มีความกตัญญู
ด้านวิชาการต่าง ๆ
ในเรื่องนี้กล่าวถึงวิชากการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
เช่นใช้วัดเป็นโรงเรียนสอนหนังสือ
และทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงการพัฒนาของระบบการศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ด้านศาสนา สังคม ประเพณีและวัฒนธรรม
สะท้อนสังคมไทยโบราณว่ายังมีความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน
และยังมีประเพณีในการฝากบุตรหลานเข้าเรียนในวัด
และยังกล่าวถึงการพนมมือที่ถูกต้องตามคติของไทยโบราณอีกด้วย
ข้อบกพร่องของเรื่อง
๑.
ผู้แต่งใช้ภาษาที่ค่อนข้างเก่า อาจทำให้ผู้อ่านมีความไม่เข้าใจหรือเข้าใจได้ไม่ชัดเจน
ดังที่กล่าวมาแล้วในช่วงต้น
๒.
การผูกเรื่องและวิธีการเขียน
ใช้ศัพท์และสำนวนภาษาปะปน ทำให้เข้าใจความหมายหรือคำแปลได้ยาก
๓.
ในบางช่วงของเนื้อเรื่องมีการซ่อนทัศนะความคิดเห็นของผู้เขียนปะปนอยู่ด้วยทำให้ไม่ทราบได้แน่ชัดว่าเนื้อความในตอน
นั้น ๆ เป็นเรื่องจริงหรือทัศนะแห่งผู้แต่ง
๔.
ใช้คำศัพท์มากจนเกินไป
หรือมีคำที่มีความหมายยากซ้อนกันอยู่หลายคำ เช่นคำว่า เทศน์ธรรมวัตร
๕.
เขียนนามผู้ตอบหรือผู้สนทนาไม่ชัดเจน
ดังตอนนี้ที่กล่าวดังนี้ “ให้อ่านมาลัยก็อ่านได้ ท่านนึกประหลาดใจ จึงถามว่า เอ็งรูมาจากไหน
ก็เรียนท่านว่า รู้มาจากวัดนี้เอง” เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น