ต่อ ๑
สมเด็จแตงโมเป็นผู้มีความกตัญญูต่อบ้านเกิด
ต่อมาจึงได้กลับไปบูรณปฏิสังขรวัดใหญ่ที่ท่านเคยพำนักอยู่ก่อน
ที่วัดใหญ่สมเด็จแตงโมได้หล่อรูปของท่านไว้โดยชาวจีนชราผู้หนึ่งซึ่งมีฝีมือได้ปั้นให้
ของสำคัญอีกอย่างหนึ่งของสมเด็จแตงโมที่ยังคงหลงเหลืออยู่ คือฝาบาตรมุก กล่าวว่าสมเด็จแตงโม
เป็นบุคคลที่รูปร่างปานกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่ ค่อนข้างสูงปากแหลม นอกจากวัดใหญ่แล้ว
สมเด็จแตงโมยังได้ปฏิสังขรวัดอีกแห่งคือ วัดหนองหว้า ซึ่งอยู่ในตำบลเกิดของท่าน
สมเด็จแตงโมมรณะภาพในขณะที่รับหน้าที่ดูแลการสร้างและบูรณะพระพุทธบาทสระบุรี
ศิลปะการแต่ง
แต่งด้วยร้อยแก้วในลักษณะตำนาน เค้าโครงเป็นเรื่องจริงที่เล่าต่อ ๆ กันมา
และจัดพิมพ์ไว้ในหนังสือ
กลวิธีในการดำเนินเรื่องและการผูกเรื่อง
-การตั้งชื่อเรื่อง
ใช้ตัวเอกเป็นชื่อของเรื่อง ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์
เป็นการสร้างจุดสนใจและจดจำง่าย
-การวางโครงเรื่อง
วางโครงเรื่องตามลำดับเหตุการณ์และเวลา
โดยเริ่มเรื่องจากการกล่าวถึงชีวิตในวัยปฐมวัย จนถึงบั้นปายของชีวิต
และปิดเรื่องด้วยการกล่าวถึงที่มาของสิ่งที่เกิดในปัจจุบัน
อดีตของท่านเป็นอย่างไร
พฤติกรรมตัวละคร เรื่องสมเด็จแตงโม มีตัวละครเอกคือสมเด็จแตงโม
ตัวละครย่อยคือ เด็กวัด ท่านสมภาร
-สมเด็จแตงโม เป็นเด็กที่อดอยากหิวโหย
คือวันหนึ่งลงเล่นน้ำกับเด็กวัดที่วัดใหญ่
มีเปลือกแตงโมลอยน้ำมาเด็กเพชรคว้าและดำลงไปกินจนหมด เพื่อน ๆ จึงเรียกว่า
เด็กแตงโม และเด็กแตงโมยังมีตความฉลาดหักแหลม รู้จักสังเกตและจดจำ มีความตั้งใจจริง
มานะ หมั่นเพียรและที่สำคัญไม่ลืมิ่นฐานของตนเอง
-สมภาร
เป็นบุคคลที่เห็นความสำคัญของการศึกษา
โดยให้การอนุเคราะห์เด็กแตงโมให้เรียนหนังสือ ให้ที่อยู่อาศัย จนบวชเณรให้
กล่าวโดยสรุปแล้วท่านสมภารเป็นบุคคลที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง
-ท่านเจ้าเมือง
ในครั้งแรกนั้นเป็นบุคคลที่ไม่พอใจที่เจ้าอาวาสที่จะมาเทศน์
ไม่มาแต่ส่งสามเณรแตงโมมาเทศน์แทน
ในครั้งนั้นเจ้าเมืองมีความใจแคบไมเห็นความสำคัญของผู้มีอายุน้อย
เห็นได้จากการที่ไม่ยอมฟังสามเณรแตงโมเทศน์
แต่กระนั้นเมื่อสามเณรแตงโมได้เทศน์ก็ได้เกิดความเลื่อมใสรับเป็นโยมอุปฏฐาก
-เด็กวัด
แม้จะเป็นเพียงเด็กวัดแต่ก็มีความสำคัญไม่เพียงตัวละครอื่น ๆ
ด้วยเหตุที่เด็กวัดที่เป็นเพื่อนเล่นของเด็กแตงโมไม่ได้ชักชวนเด็กแตงมาอยู่ที่วัด
ก็จะไม่มีบุคคลที่ชื่อว่าสมเด็จแตงโม ในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น