วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์บทวรรณกรรมร้อยแก้ว เรื่องสมเด็จแตงโม พระยาปริยัติธรรมธาดา ๑

วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเรียนภาษาไทย ๑ เล่ม จะเป็นวรรณกรรมร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ พร้อมวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่ศึกษามาโดยตลอด
-ตอบ  ในขั้นแรกนี้ขออธิบายหลักในการวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเรียนภาษาไทย ดังนี้
การวิเคราะห์เนื้อหาในแบบเรียนนั้นจะต้องประกอบหัวข้อดังต่อไปนี้
๑.          แก่นของเรื่อง
๒.        เนื้อเรื่องย่อ
๓.         ศิลปะการแต่ง
๔.         ศิลปะการใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร
๕.         รสวรรณคดี
๖.          ข้อคิดจากเรื่อง
๗.         ทัศนะของผู้เขียน
๘.         ความรู้หรือคุณค่าของเรื่อง
๙.          ข้อบกพร่องของเรื่อง
ตามที่กล่าวมาทั้ง ๙ หัวข้อนั้นเป็นที่ผู้ต้องการจะวิเคราะห์เนื้อหาในแบบเรียนวิชาภาษาไทยจะต้องทราบและนำหัวข้อเหล่านั้นมาใช้ในการวิเคราะห์ให้เกิดคุณภาพของผลการวิเคราะห์มากที่สุด
วิเคราะห์บทวรรณกรรมร้อยแก้ว เรื่องสมเด็จแตงโม   พระยาปริยัติธรรมธาดา
แก่นของเรื่อง     เพื่อให้ทราบประวัติของบุคคลสำคัญซึ่งเป็นบรรชิต มีความอดทนต่อความยากลำบาก มีความขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ และเมื่อเจริญก้าวหน้าแล้วก็มิได้ลืมบ้านเกิดเมืองนอนของตน
เนื้อเรื่องย่อ        ในรัชกาลมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ที่บ้านหนองหว้า เมืองเพชรบุรี มีเด็กชายคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ กำพร้าบิดาและมารดา อาศัยอยู่กับพี่สาว ภายหลังได้หนีออกจากบ้าน
            เด็กเพชรผู้นี้อดอยากอาหาร วันหนึ่งเล่นน้ำอยู่หน้าวัดใหญ่ พพบเปลือกแตงโมลอยน้ำมาจึงคว้านำไปเคี้ยวกิน ตั้งแต่นั้นมาเพื่อนจึงเรียกว่าเด็กชายผู้นี้ว่า เด็กเพชรกินเปลือกแตงโม
            เด็กเพชรอยู่กับเด็กวัดใหญ่ได้หลายวัน  จนมาวันหนึ่งมานอนค้างที่วัด คืนนั้นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ฝันว่าช้างเผือกเข้ามาแทงพระไตรปิกฏ  ท่านได้ทราบจากตำราทำนายฝันว่าจะมีคนสำคัญมาพบ และเมื่อภายหลังทราบว่าเด็กแตงโมเข้ามาอาศัยอยู่ภายในวัด จึงชวนให้อยู่ด้วย  เมื่ออยู่อาศัยที่วัดได้สักพัก เจ้าอาวาสจึงให้เด็กแตงโมอ่านหนังสือ เด็กแตงโมเป็นผู้มีเชาว์สามารถอ่านประถม ก กา และหนังสือเรื่องพระมาลัยได้  โดยไม่ต้องมีใครสอน เพราะสังเกตได้จากการเรียนของเพื่อนวัดมาก่อน เจ้าอาวาสจึงให้เด็กแตงโมบวชเณร และเรียนภาษาบาลี  และครั้งหนึ่งได้ไปเทศน์แทนเจ้าอาวาสก็สามารถเทศน์ได้เป็นที่น่าพอใจของเจ้าเมืองเพชรบุรีมาก
            สามเณรแตงโม ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสิ้นความรู้ขออาจารย์ต่าง ๆ ในเมืองเพชรบุรี เจ้าอาวาสจึงนำสามเณรไปศึกษาต่อที่วัดหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา จนจบได้เปรียญ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีชื่อเสียง และได้เป็นพระอาจารย์ของพระราชกุมารในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อพระราชกุมารนั้นขึ้นครองราชย์ จึงได้เลื่อนสมนศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะ และภายหลังเรียกกันว่า สมเด็จแตงโม 

ต่อ ๒ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น