วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือภาษาไทย ๑ เล่ม ๓

ต่อ ๒ 

ส่วนเนื้อหา  มีรายละเอียดดังนี้
บทนำ ความนำ หรือนำเรื่อง  ในที่นี่นวนิยายเรื่องกามนิต วาสิฏฐี มีบทนำเรื่อง ความนำ ที่ต้องเท้าความไปยังหัวข้อที่แล้ว คืออยู่ในส่วนตอนต้น ในหัวข้อ คำนำ ที่ต้องกล่าวเช่นนี้อันนื่องมาจาก ในส่วนของคำปรารถ คำแถลง คำนำ หรือคำแถลงเรื่องจากผู้แปลกและแต่งเรื่องภาษาไทยนั้น ก็เป็นดังบทนำ ความนำของเรื่องนี้ทั้งสิ้น เพราะนอกจากจะทำให้ผู้อ่านได้มีความเข้าใจต่อวรรณกรรมเรื่องนี้แล้ว ยังเป็นเสมือนกับบทย่อเนื้อหา ของวรรณกรรมเรื่องนี้อีกด้วย  และนำเรื่องของนวนนิยายรื่องนี้ขึ้นบทด้วยข้อความในพระสูตร กล่าวว่า  

                “ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสในโลกมนุษย์  และถึงวาระอันสมควรเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  พระองค์ได้จารึกไปในคามชนบทราชธานีต่าง ๆ แห่งแคว้นมคธ จนบรรลุกรุงราชคฤห์มหานคร ข้อความในพระสูตรเป็นดังนี้   .  ในส่วนของเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาของนวนิยายเรื่องนี้ได้ดำเนินเรื่องไปทีลำดับนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเข้าพักในบ้านชายปั้นหม้อแล้วได้พบกับกามนิตที่เดินทางมาขอพักก่อนหน้า พร้อมทั้งได้สนทนาถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งเรื่องราวในอดีตของกามนิตที่เกี่ยวข้องกับวาสิฏฐี สตรีอันเป็นที่รัก และเรื่องราวความปราถนาที่จะพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทีกามนิตไม่ทราบเลยว่าภิกษุชราที่นั่งข้างหน้าตนเป็นบุรุษที่เขาต้องการจะพบ แล้วเนื้อเรื่องก็กล่าวย้อนไป แล้วก็กลลับมาว่ากามนิตผู้นี้ถูกโคขวิคจึงสิ้นชีพลง และเนื้อเรื่องก็ดำเนินต่อไปยังภาคบนสวรรค์ กล่าวถึงการพบกันอีกครั้งของกามนิตและวาสิฏฐี ในลุ้มแม่นำคงคาแห่งสวรรค์  กล่าวถึงความสุขที่เกิดขึ้นแก่ชาวสวรรค์ที่สถิตบนที่บรมสุขแห่งนี้ แต่กระนั้นเนื้อเรื่องที่ดำเนินไปก็แสดงความขัดแย้งขอเนื้อเรื่องโดยที่ แสดงความไม่เที่ยงแห่งสรรพสิ่ง ไม่ว่าผู้ใดย่อมได้รับสิ่งนี้ทั้งสิ้น เรื่องดำเนินถึงจุดที่ถึงกาลอวสานของพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ของโลก เมื่อรัศมีของพระอองค์สิ้นไป และจบเรื่องด้วยการที่ดวงดาวของกามนิตไม่ยินดีรับแสงทิพย์จากท้าวมหาพรหม และในที่สุดก็สิ้นสูญไปแห่งการพ้นทุกข์อันแท้จริง เนื้อเรื่องก็จบลงด้วยประการฉะนี้

ส่วนประกอบตอนท้าย ในนวนิยายเล่มนี้มีส่วนประกอบตอนท้ายอยู่อย่างหนึ่งคือ ภาคผนวก เป็นบทบันทึกของผู้แปลและแต่งเรื่องเป็นภาษาไทย ถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่ควรอธิบายเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น บทบันทึกท้ายบทที่๒๗  อธิบายศัพท์ คำว่ายี่โถ แปลมาจากศัพท์ คำว่า กณเวร เป็นต้น ในส่วนของส่วนประกอบตอนท้ายนี้แสดงไว้ทั้งสิ้น ๔ หน้า  
รวมหน้าของนวนิยายเล่มนี้ทั้งสิ้น  ๓๖๖ หน้า ไม่รวมหน้าปกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น