วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา

ขอบข่ายของนวัตกรรม

            สำหรับนวัตกรรมการศึกษา  อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
            สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา อาจมีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1.            การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2.            เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ  ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3.            การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4.            การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5.            วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6.            การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทางพึงประสงค์  เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
(สมพร  ชมอุตม์, 2532)

            1. ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน  มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง  ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดัง ๆ แข่งขันกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช  ไอบีเอ็ม ฮิวเล็กแพคการ์ด  คอมแพค เป็นต้น

            2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์  โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกมส์  ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย

            3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

            4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน

            5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเียนคอมพิวเตอร์  มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
(re-education)

            6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมี
นักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering)  เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง  วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด  หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น

            7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ

            8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ  มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน  ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน

ในลำดับต่อไปกระผมจะนำเสนอนวัตกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้หรือ 4 MAT
 และในที่นี่กระผมจะนำนวัตกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบ4 MAT มาประยุกต์ใช้กับการสอนวิชาภาษาไทย ดังต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น