-ถาม
จงวิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือภาษาไทย ๑ เล่ม
โดยบอกชื่อหนังสือและรายละเอียดทั้งหมดให้ชัดเจน
พร้อมวิเคราะห์ตามหลักการที่เรียนมา
-ตอบ
ในที่นี่จะวิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือภาษาไทย
นวนิยายกามนิต วาสิฏฐี ฉบับสมบูรณ์ ประพันธ์โดย เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ
จัดพิมพ์ใหม่ โดยสำนักพิมพ์ศยาม ครั้งที่ ๘
ในขั้นแรกนี้จะขออธิบายหลักการวิเคราะห์หนังสือเรียนภาษาไทย ดังนี้
การวิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือ
โดยความหมายแล้วคือการวิเคราะห์ลักษณะโดยทั่วไปของหนังสือ
หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการวิเคราะห์คุณลักษณะภายนอกของหนังสือของหนังสือ
ส่วนประกอบที่สำคัญของหนังสือและเพื่อการวิเคราะห์นั้น แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
คือ
ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา
และส่วนประกอบตอนท้าย ซึ่งในการวิเคราะห์ส่วนประกอบของหนังสือจะต้องผ่านการวิเคราะห์ทั้งหมดดังที่กล่าวมา ส่วนประกอบตอนต้นของหนังสืออันได้แก่ ปกหนังสือ ซึ่งก็แบ่งย่อยออกไปได้อีก ๕ ส่วน
คือปกหน้าด้านนอก ปกหน้าด้านใน ปกหนังด้านนอก ปกหลังด้านใน และสันหนังสือ
ซึ่งจะพิจารณาในทั้งด้านเนื้อหาที่สมควรที่จะต้องมี เช่น ชื่อหลักสูตร
ชื่อผู้แต่ง หรือข้อความประกาศอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการที่อนุญาตให้ใช้หนังสือแบบเรียนนั้นในโรงเรียนได้ เป็นต้น และยังพิจารณาไปถึง
สารบัญของหนังสือแบบเรียนเล่มนั้น ๆ
มีความชัดเจนเข้าใจง่ายต่อผู้ใช้แบบเรียนหรือไม่ พร้อมทั้งยังพิจารณาในส่วนเนื้อหา
แต่จะไม่เข้าไปดูถึงรายละเอียดปลีกย่อย เพียงแต่ให้ความสนใจในการวิเคราะห์ด้าน
ข้อมูลบทนำ ความนำ หรือการนำเรื่อง
และวิเคราะห์ในด้านเนื้อหา ว่าเรื่องมีการแบ่งเป็นอย่างไร
เรียงบทความที่นำมาทำเป็นเนื้อหาได้ติดต่อสัมพันธ์กันหรือไม่ เป็นต้น
ส่วนในการวิเคราะห์ส่วนประกอบตอนท้าย
ก็มักจะวิเคราะห์ว่าในตอนท้ายของแบบเรียนนั้น ๆ มีการให้ข้อมูลหน้าบอกตอนหรือไม่
หน้าบอกตอนคือ หน้าซึ่งมีลักษณะเฉพาะข้อความที่เป็นหัวข้อ
หรือเป็นหัวเรื่องของตอนนั้น ๆ โดยจะพิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ เช่นหน้าบอกตอนศัพทานุกรม ก็จะพิมพ์ คำว่า “ศัพทานุกรม” ไว้กลางหน้ากระดาษ
ก่อนที่จะหน้าต่อมาจะแสดงคำศัพท์ภายในเล่มพร้อมคำแปล และนอกจากนั้นยังวิเคราะพิจารณา
ในภาคผนวชอีกด้วย และรายชื่อคณะผู้จัดจำและคณะกรรมการปรับปรุงหนังสือ
สุดท้ายคือประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งตามที่กล่าวมาทั้งหมดหากเป็นการวิเคราะห์ในด้านส่วนประกอบของหนังสือแบบเรียน
หนังสือแบบเรียนที่นำมาวิเคราะห์จะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนถึงจะกล่าวได้ว่าเป็นหนังสือที่มีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น