๑.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างกับหลักสูตรสถานศึกษาอย่างไร
ตอบ
หลักสูตรสถานศึกษากำหนดขึ้นมาโดยที่อาศัยหลักของหลักสูตรขั้นกลางที่ทางกระทรวงได้กำหนดหรือออกแบบเป็นแนวทางมาให้โดยที่สถานศึกษาอาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเนื้อหาสาระมากขึ้นได้ตามที่ต้องการ
แต่ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับลดตามที่หลักสูตรกลางซึ่งกระทรวงกำหนดไว้
การเพิ่มเนื้อหาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาอาจจะเกิดจากการเพิ่มเนื้อหาความรู้ในท้องถิ่นนั้น
ๆ มาประยุกต์ใช้ ดังนั้นหลักสูตรสถานศึกษาอาจมีเนื้อหาที่อาจแตกต่างไปแต่ละในท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่าง
ๆจึงอาจกล่าวได้ว่าหลักสูตรสถานศึกษามีความหลากหลายกว่าหลักสูตรแกนกลาง
แต่กระนั้นหลักสูตรแกนกลางก็ยังมีความสำคัญและจำเป็นต่อการกำหนดวางรูปแบบของการเรียนการสอนของครูผู้สอน
ดังนั้นความแตกต่างของหลักสูตรสถานศึกษากับหลักสูตรแกนกลางฯจึงแตกต่างกันเพียงในด้านความหลาหลายของเนื้อหาในการสอน
และรายละเอียดหลีกย่อยในการสอน อีกทั้งหลักสูตรสถานศึกษายังมีความยืดหยุ่นสูง
๒. คำอธิบายรายวิชาภาษาไทยคืออะไร
มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ
อ้างอิงข้อมูลที่ได้จาก
หลักสูตรฯปีพุทธศักราช ๒๕๔๔
ดูในหัวข้อสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ภาษาไทย คำอธิบายรายวิชา คือ
กลุ่มข้อความที่อธิบายหรือสื่อให้ทราบว่าในรายวิชาภาษาไทยมีอะไรบ้างที่ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจและค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาสอนแก่นักเรียนเพื่อให้เกิดทักษะตามที่คำอธิบายรายวิชาต้องการหรืออีกนัยหนึ่งคำอธิบายรายวิชาที่แสดงนั้นมุ่งให้นักเรียนหรือผู้เรียนได้รับความรู้ตามความประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้
และทำให้ครูผู้สอนได้เห็นว่าใน ๑ ภาคการศึกษานั้น ผู้สอนจะสามรถสอนอะไรได้บ้าง
นักเรียนจะได้เรียนกี่ชั่วโมง เนื้อหาที่จะเรียน จะสอนมีอะไรบ้าง และมีสาระสำคัญอะไรที่จะต้องเรียนรู้และครู่ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหาใดมาประกอบหรือเพิ่มเติม
องค์ประกอบของคำอธิบายรายวิชา มีหน่วยสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งหมด ๕
หน่วยสาระ ประกอบด้วย สาระการอ่าน
มาตรฐาน๑.๑ สาระการอ่าน มาตรฐาน ๒.๑ สาระการฟัง การดูและการพูด มาตรฐาน ๓.๑ สาระการใช้ภาษา มาตรฐาน ๔.๑ และ ๔.๒ และ สาระวรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน ๕.๑
ในหนึ่งหน่วยสาระก็จะมีคำอธิบายอย่างย่อประกอบท้ายในทุก ๆ หน่วยสาระ
เพื่ออธิบายจุดมุ่งหมายหรือความประสงค์ที่ผู้เรียนสมควรได้รับหรือพึงมี แสดงให้ทราบดังนี้
ภาษาไทย
สาระที่ ๑ : การอ่าน
มาตรฐาน
ท ๑.๑ : ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ
แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ : การอ่าน
มาตรฐาน
ท ๒.๑ : ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ
และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ
และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ : การฟัง
การดูและการพูด
มาตรฐาน
ท ๓.๑ : สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด
ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ ๔ : หลักการใช้ภาษา
มาตรฐาน
ท ๔.๑ : เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
มาตรฐาน
ท ๔.๒ : สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้ เสริมสร้างลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ
และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และชีวิตประจำวัน
สาระที่ ๕ : วรรณคดี และวรรณกรรม
มาตรฐาน
ท ๕.๑ : เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า
และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๓. โครงการสอนวิชาภาษาไทยคืออะไร
ตอบ
โครงการสอนวิชาภาษาไทยจะจัดทำโดยตัวของครูผู้สอนเอง
เป็นการกำหนดเพื่อต้องการบอกให้ทราบว่าใน ๑ ปีการศึกษา
เนื้อหาการเรียนการสอนจะเป็นเช่นไร มีอะไรบ้าง โดยอาจทำเป็นตารางกำหนด เช่นกำหนดมา
๑๐ หัวข้อ อนุมานให้ทั้ง ๑๐ หัวข้อคือแต่ละคาบที่มีการเรียนการสอน ในที่นี่ก็จะบอกหรืออธิบายว่า ๑๐ คาบกล่าวถึงในแต่ละคาบมีเนื้อหาที่จะเรียนหรือสอนอะไร
เพื่อเป็นแนวทางโดยแสดงออกเป็นมุมกว้าง
มีประโยชน์ทั้งด้านครูผู้สอนเองและนักเรียนด้วย
๔.
แผนการเรียนรู้ภาษาไทยคืออะไร
ตอบ
ต้องกล่าวก่อนว่า
แผนการเรียนรู้เป็นส่วนย่อยที่แยกออกมาแต่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับโครงการสอน
แผนการเรียนรู้จะแตกต่างกับโครงการสอนในด้านที่มีความละเอียดลึกซึ้งกว่าโครงการสอน
เช่น โครงการสอน บอกว่าในหนึ่งภาคการศึกษาจะมีการเรียนการสอน ๑๐ คาบ
โครงการสอนอธิบายเป็นหัวข้อใหญ่บอกเป็นมุมกว้างว่าจะมีการสอน หลักภาษา
การอ่านการเขียน การฟัง การดูและการพูด หรือการพูดเพื่อการโต้วาที ในแผนการเรียนรู้ก็จะแยกย่อยลงไป
เหมือนเครื่องบดที่บดเนื้อหาให้ละเอียด ยกตัวอย่างในโครงการสอนบอกว่าในคาบที่ ๑
จะสอนให้นักเรียนพูดโต้วาที ในโครงการสอนอาจจะให้คำอธิบายสั้น ๆ ไม่ละเอียด
หรือบอกหลักจุดประสงค์ แต่ในแผนการเรียนรู้จะบอกว่า
หากนักเรียนได้เรียนหลักการพูดโต้วาทีแล้วนักเรียนควรรู้เนื้อหาหรือหลักการพูดอย่างไร
สามารถแสดงออกหรือพูดได้อย่างไร
มีอะไรที่เป็นจุดสำคัญของการพูดโต้วาทีที่นักเรียนควรรู้
จึงกล่าวโดยสรุปว่าแผนการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสอนแต่มีความละเอียดและข้อสังเกตที่มากและหลากหลายหรือ
เป็นการมองการสอนภาษาไทยในมุมที่แคบกว่าโครงการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น